เมนู

คาถาที่ 4


35) ปฏิสลฺลานํ ณานมริญฺจนาโน
ธมฺเมส นิจฺจํ อนุธมฺมารี
อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเวสุ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มี
ปกติประพฤติธรรม อันสมควรเป็นนิตย์ในธรรมทั้งหลาย
พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิสลฺลานํ คือ การไม่กลับเข้าไปหาสัตว์และสังขารเหล่า
นั้น ๆ หลีกเร้น อยู่. อธิบายว่า ความเป็นผู้เดียวเพราะเสพเฉพาะตนผู้เดียว
ชื่อว่า กายวิเวก. บทว่า ฌานํ ท่านเรียกว่า จิตตวิเวก เพราะเผา
ธรรมเป็นข้าศึกและเพราะเพ่งอารมณ์และลักษณะ. ในบทนั้น สมาบัติ 8
ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผาธรรมเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะ
เพ่งถึงอารมณ์ วิปัสสนา มรรคและผล ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผา
ธรรมเป็นข้าศึกมีสัตตสัญญาเป็นต้น และเพราะเพ่งถึงลักษณะ. แต่ในที่นี้
ประสงค์เอาการเพ่งอารมณ์เท่านั้น. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีก
เร้นและฌานนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อริญฺจมาโน คือ ไม่ละไม่สละ. บทว่า ธมฺเมสุ คือ ใน
ธรรมมีขันธ์ 5 เป็นต้นอันเป็นเครื่องให้เข้าถึงวิปัสสนา. บทว่า นิจฺจํ